โปรแกรมเมอร์มีกี่ประเภท? อ่านก่อน ชัวร์กว่า!

โปรแกรมเมอร์มีกี่ประเภท

หากจะพูดถึงสายงาน IT ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ก็ต้องยกให้สายงานโปรแกรมเมอร์ (Programmer) แต่ในความคิดของคนทั่วไปมักคิดว่างานโปรแกรมเมอร์ ก็คือคนเขียนโปรแกรมทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจนี้ถูกเพียงส่วนเดียวเท่านั้น เพราะในสายงานโปรแกรมเมอร์ยังมีประเภทแยกย่อยไปอีกมากมาย แล้วโปรแกรมเมอร์จะมีกี่ประเภท มีตำแหน่งอะไรบ้างที่น่าสนใจ หากสนใจงานโปรแกรมเมอร์ หรือกำลังหาโปรแกรมเมอร์คนใหม่มาทำงานให้องค์กรผ่านบริการจัดหาพนักงานสายงาน IT ต้องไม่พลาดบทความนี้

Table of contents

เคลียร์ชัด หน้าที่หลักของโปรแกรมเมอร์คือสิ่งนี้!

ก่อนจะไปลงลึกถึงโปรแกรมเมอร์แต่ละประเภท อย่างแรกที่คนทำงานสายโปรแกรมเมอร์ รวมถึงผู้ประกอบการที่กำลังมองหาพนักงานตำแหน่งนี้ต้องรู้และเข้าใจ ก็คือหน้าที่หลักของอาชีพนี้ว่ามีหน้าที่อะไรกันแน่ โดยโปรแกรมเมอร์ (Programmer) มีหน้าที่หลักคือ การนำข้อมูลจากนักวิเคราะห์มาเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา Java ภาษา PHP ภาษา Python ภาษา C# หรือภาษาอื่น ๆ เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมเมอร์จะทำการทดสอบระบบว่าสามารถใช้งานได้ตามต้องการหรือไม่ มีข้อผิดพลาดตรงไหนไหม จากนั้นจึงส่งต่อให้นักวิเคราะห์ระบบตรวจสอบอีกครั้ง หากพบข้อบกพร่อง โปรแกรมเมอร์จะนำมาแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเริ่มเผยแพร่โปรแกรมให้ใช้จริง เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน

Developer กำลังเขียนโค้ดโปรแกรมในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

โปรแกรมเมอร์มีกี่ประเภทกันแน่?

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สายอาชีพโปรแกรมเมอร์แตกแขนงออกไปมากมายหลายประเภท วันนี้ เราจึงมีรายละเอียดของโปรแกรมเมอร์ 8 ประเภทมาฝากกัน จะมีตำแหน่งใดบ้าง ไปชมกันเลย

System Programmer

เป็นผู้สร้างระบบปฏิบัติการที่เราใช้งานกันทั่วไปบนคอมพิวเตอร์ ทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้อย่างเสถียร รวมถึงคอยมอนิเตอร์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ

Application Developer

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่านักพัฒนาแอปพลิเคชัน มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือให้ตอบโจทย์ความต้องการ และผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

Java Developer

เป็นนักพัฒนาที่เน้นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ซึ่งเหมาะกับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ มีข้อได้เปรียบกว่าภาษาอื่น ๆ ตรงที่สามารถแก้ไขโค้ดได้แม้โปรแกรมจะทำงานอยู่ ถือเป็นอีกหนึ่งภาษาที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

Front-End Developer

ตำแหน่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของผู้พัฒนาเว็บไซต์ ทำหน้าที่จัดการหน้าเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า จึงต้องมีความรู้ด้านกราฟิกและ UX/UI มากเป็นพิเศษ

PHP Developer

นักพัฒนาประเภทนี้ คือผู้ที่ถนัดด้านการใช้ภาษา PHP ในการสร้างเว็บไซต์มากเป็นพิเศษ โดยภาษา PHP จะแสดงผลในรูปแบบ HTML โดยมุ่งเน้นให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียนเว็บเพจโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว

Software Tester

โปรแกรมเมอร์สายนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อนักทดสอบระบบซอฟต์แวร์ มีหน้าที่ตรวจความลื่นไหลของแอปพลิเคชันหรือโปรแกรม ตรวจสอบระบบการทำงานของโปรแกรม ทดลองใช้ส่วนของ Script และสรุปผลการทดสอบเพื่อให้ผู้พัฒนาหรือโปรแกรมเมอร์นำไปแก้ไขต่อไป

Software Engineer

ชื่อภาษาไทยของตำแหน่งนี้ ก็คือวิศวกรซอฟต์แวร์ หน้าที่หลักคือนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำอาชีพนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบ รวมถึงมีทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงวิศวกรรมด้วย

Project Manager

ปิดท้ายด้วยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลภาพรวมของโปรเจกต์ IT ทั้งหลาย อย่าง Project Manager มีหน้าที่หลักคือต้องบริหารจัดการโปรเจกต์ให้ได้คุณภาพด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ภายในเวลาที่กำหนด เป็นเหมือนศูนย์กลางของคนทั้งทีมนั่นเอง

เมื่อรู้แล้วว่าโปรแกรมเมอร์มีตำแหน่งอะไรบ้าง หากต้องการใช้บริการจัดหาพนักงานสายงาน IT ชั่วคราวช่วยค้นหาโปรแกรมเมอร์ที่มีทักษะ ความรู้ และความสามารถที่เหมาะสม เพื่อให้โปรเจกต์ของคุณผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ที่ PPM Contract เรายินดีให้คำปรึกษาและจัดหาพนักงาน IT ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้คุณใน 3 ขั้นตอน ตอบโจทย์ครอบคลุมทุกความต้องการของธุรกิจ IT ยืนยันผลลัพธ์ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-915-4099 และอีเมล sales@ppmcontract.com

แจ้งความต้องการ

โทรหาเราหรือกรอกรายละเอียดในฟอร์มด้านล่าง เราจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง